ประวัติเเละผลงานงานของบุคคลสำคัญในวงการดนตรีไทย
พระยาประสานดุริยศัพท์(แปลก ประสานศัพท์)
พระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์) เป็นบุตรคนโตของขุนกนกเรขา (ทองดี)กับนางนิ่ม เกิดเมื่อวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2403 ตรงกับวันอังคาร ณ บ้านเลขที่ 81 ตรอกไข่ ถนนบำรุงเมือง ตำบลหลังวัดเทพธิดากรุงเทพมหานคร ท่านได้เรียนปี่ชวากับครูชื่อ “หนูดำ” ส่วนวิชาดนตรีปี่พาทย์อย่างอื่น ได้ศึกษาอย่างจริงจังกับครูช้อย สุนทรวาทิน (บิดา) จนบรรลุแตกฉาน ท่านเข้ารับราชการ ตั้งแต่เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระยศเป็นพระยุพราช ได้ทูลขอพระราชทานบรรดาศักดิ์จากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวให้นายแปลกเป็นที่“ขุนประสานดุริยศัพท์”นับจากนั้นก็ได้รับพระราชทานเลื่อนบรรดาศักดิ์มาเป็นลำดับ จนได้เป็นที่ “พระยาประสานดุริยศัพท์” เจ้ากรมปี่พาทย์หลวง ในสมัยรัชกาลที่ 6 ความรู้ความสามารถของพระยาประสานดุริยศัพท์นั้น เป็นที่กล่าวขวัญเรื่องลือว่า ท่านเป็นผู้ที่ถึงพร้อมด้วยฝีมือ ความรู้ ปฏิภาณ ไหวพริบ ท่านเป็นครู และเป็นศิลปินที่หาได้ยากยิ่ง เมื่อปี พ.ศ.2428 ท่านได้รับเลือกให้ไปร่วมฉลองครบรอบร้อยปีของพิพิธภัณฑ์เมืองอวิมปลีย์ที่ประเทศอังกฤษผลของการบรรเลงขลุ่ยของท่านเป็นที่พอพระราชหฤทัยของสมเด็จพระราชินีนาถวิคตอเรียเป็นอย่างยิ่งถึงกับรับสั่งขอฟังเพลงขลุ่ยเป็นการส่วนพระองค์ในพระราชวังบัคกิ้งแฮมอีกครั้งการบรรเลงครั้งหลังนี้สมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรียทรงลุกจากที่ประทับและใช้พระหัตถ์ลูบคอพระยาประสานฯพร้อมทั้งรับสั่งถามว่า “เวลาเป่านั้นหายใจบ้างหรือไม่ เพราะเสียงขลุ่ยดังกังวานอยู่ตลอดเวลา”
พระยาประสานดุริยศัพท์ได้แต่งเพลงไว้ดังนี้คือ เพลงเชิดจั่น 3 ชั้น พม่าหัวท่อน เขมรราชบุรี เขมรปากท่อ เขมรใหญ่ ถอนสมอ ทองย่อน เทพรัญจวน แมลงภู่ทอง สามไม้ใน อาถรรณ์ พราหมณ์เข้าโบสถ์ ธรณีร้องไห้ มอญร้องไห้ เป็นต้น ความสามารถทางดนตรีของท่านนั้น ทำให้ท่านมีลูกศิษย์ที่มีความสามารถเป็นทวีคูณขึ้นไป และศิษย์ของท่านเป็นที่รู้จักโดยทั่วไปคือพระประดับดุริยกิจ (แหยม วิณิณ) พระเพลงไพเราะ (โสม สุวาทิต) หลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) หลวงบรรเลงเลิศเลอ (กร กรวาทิน) พระยาภูมิเสวิน (จิตร จิตตเสรี) อาจารย์มนตรี ตราโมท ครูเฉลิม บัวทั่ง เป็นต้น พระยาประสานดุริยศัพท์ ป่วยโดยโรคชรา และถึงแก่กรรมเมื่ออายุได้ 105 ปี ในปี พ.ศ. 2467
ครูมนตรี ตราโมท
อาจารย์มนตรี ตราโมท เดิมชื่อ บุญธรรม ตราโมท เกิดวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2443 ที่บ้านท่าพี่เลี้ยง อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นบุตรนายยิ้ม และนางทองอยู่ เมื่อ พ.ศ. 2475 สมรสกับนางสาวลิ้นจี่ (บุรานนท์) มีบุตรที่ยังมีชีวิตอยู่ 2 คน คือ นายฤทธี และนายศิลปี ต่อมาเมื่อนางลิ้นจี่ ถึงแก่กรรมจึงแต่งงานกับนางสาวพูนทรัพย์ (นาฏประเสริฐ) มีบุตร 2 คน คือ นางสาวดนตรี และนายญาณี
–ความสามารถและผลงาน–
อาจารย์มนตรี ตราโมท เริ่มการศึกษา โดยเข้าเรียนที่โรงเรียนประจำจังหวัดสุพรรณบุรี (ปรีชาพิทยากร) สอบได้ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภายหลังไปเรียนต่อที่โรงเรียนพรานหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์ จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
อาจารย์มนตรี สนใจดนตรีมาตั้งแต่เด็ก เนื่องจากบ้านอยู่ใกล้วัดสุวรรณภูมิ ซึ่งที่วัดนี้มีวงปี่พาทย์และมีการฝึกซ้อมอยู่เสมอ จึงได้ยินเสียงเพลงจากวงปี่พาทย์อยู่เป็นประจำ จนในที่สุดได้รู้จักกับนักดนตรีในวงและขอเข้าไปเล่นด้วย เมื่อมีการบรรเลงก็มักจะไปช่วยตีฆ้องเล็กหรือทุ้มเหล็กด้วยเสมอ
เมื่อจบมัธยมศึกษาปีที่ 3 อาจารย์มนตรีตั้งใจจะมาเรียนต่อในกรุงเทพฯ แต่บังเอญเจ็บกระเสาะกระแสะเรื่อยมา จึงไม่ได้เรียนต่อ ครูสมบุญ นักฆ้องซึ่งเป็นครูปี่พาทย์ประจำวงที่วัดสุวรรณภูมิ ชวนให้มาหัดปี่พาทย์ จึงได้เริ่มเรียนอย่างจริงจังตั้งแต่นั้นมาประมาณ 2 ปี และได้เป็นนักดนตรีประจำวงปี่พาทย์ จังหวัดสุพรรณบุรี
ต่อมา ได้ไปศึกษาเพิ่มเติมด้านปี่พาทย์ที่จังหวัดสมุทรสาคร ราว พ.ศ. 2456 ที่บ้านครูสมบุญ สมสุวรรณ ที่บ้านนี้มีวงปี่พาทย์และแตรวง อาจารย์มนตรีจึงได้ฝึกทั้ง 2 อย่างคือ ด้านปี่พาทย์ ฝึกระนาดเอกและฆ้องวงใหญ่ ด้านแตรวง ฝึกเป่าคลาริเน็ต นอกจากนี้ครูสมบุญยังได้แนะวิธีแต่งเพลงให้ด้วย
ในปี พ.ศ. 2460 อาจารย์มนตรี ได้เข้ามาสมัครรับราชการในกรมพิณพาทย์หลวง ซึ่งมีพระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์) เป็นเจ้ากรม ขณะที่ทำงานอยู่ก็ได้เรียนโรงเรียนพรานหลวงด้วยจนจบมัธยมศึกษาปีที่ 6
อาจารย์มนตรี ได้รับเลือกเป็นนักดนตรีประจำวงข้าหลวงเดิม เป็นวงที่จะต้องตามเสด็จทุกๆแห่ง โดยพระยาประสานดุริยศัพท์จะเป็นผู้ควบคุมทุกครั้ง อาจารย์มนตรี เริ่มแต่งเพลงเมื่ออายุ 20 ปี เพลงแรกที่แต่ง คือ เพลงต้อยติ่ง 3 ชั้น เมื่อ พ.ศ. 2467 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประชวน แพทย์ถวายการแนะนำให้ทรงฟังนิทานหรือดนตรีเบา ประกอบกับเสวยพระโอสถ กรมมหรสพจึงจัดวงเครื่องสายเบาๆ บรรเลงถวาย วงเครื่องสายนี้ได้เพิ่มขิมขึ้น อาจารย์มนตรีได้รับหน้าที่เป็นผู้ตีขิม ในวังหลวงเป็นคนแรก บรรเลงถวายทุกวันจนพระอาการหายเป็นปกติ
–ความสามารถและผลงาน–
อาจารย์มนตรี ตราโมท เริ่มการศึกษา โดยเข้าเรียนที่โรงเรียนประจำจังหวัดสุพรรณบุรี (ปรีชาพิทยากร) สอบได้ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภายหลังไปเรียนต่อที่โรงเรียนพรานหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์ จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
อาจารย์มนตรี สนใจดนตรีมาตั้งแต่เด็ก เนื่องจากบ้านอยู่ใกล้วัดสุวรรณภูมิ ซึ่งที่วัดนี้มีวงปี่พาทย์และมีการฝึกซ้อมอยู่เสมอ จึงได้ยินเสียงเพลงจากวงปี่พาทย์อยู่เป็นประจำ จนในที่สุดได้รู้จักกับนักดนตรีในวงและขอเข้าไปเล่นด้วย เมื่อมีการบรรเลงก็มักจะไปช่วยตีฆ้องเล็กหรือทุ้มเหล็กด้วยเสมอ
เมื่อจบมัธยมศึกษาปีที่ 3 อาจารย์มนตรีตั้งใจจะมาเรียนต่อในกรุงเทพฯ แต่บังเอญเจ็บกระเสาะกระแสะเรื่อยมา จึงไม่ได้เรียนต่อ ครูสมบุญ นักฆ้องซึ่งเป็นครูปี่พาทย์ประจำวงที่วัดสุวรรณภูมิ ชวนให้มาหัดปี่พาทย์ จึงได้เริ่มเรียนอย่างจริงจังตั้งแต่นั้นมาประมาณ 2 ปี และได้เป็นนักดนตรีประจำวงปี่พาทย์ จังหวัดสุพรรณบุรี
ต่อมา ได้ไปศึกษาเพิ่มเติมด้านปี่พาทย์ที่จังหวัดสมุทรสาคร ราว พ.ศ. 2456 ที่บ้านครูสมบุญ สมสุวรรณ ที่บ้านนี้มีวงปี่พาทย์และแตรวง อาจารย์มนตรีจึงได้ฝึกทั้ง 2 อย่างคือ ด้านปี่พาทย์ ฝึกระนาดเอกและฆ้องวงใหญ่ ด้านแตรวง ฝึกเป่าคลาริเน็ต นอกจากนี้ครูสมบุญยังได้แนะวิธีแต่งเพลงให้ด้วย
ในปี พ.ศ. 2460 อาจารย์มนตรี ได้เข้ามาสมัครรับราชการในกรมพิณพาทย์หลวง ซึ่งมีพระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์) เป็นเจ้ากรม ขณะที่ทำงานอยู่ก็ได้เรียนโรงเรียนพรานหลวงด้วยจนจบมัธยมศึกษาปีที่ 6
อาจารย์มนตรี ได้รับเลือกเป็นนักดนตรีประจำวงข้าหลวงเดิม เป็นวงที่จะต้องตามเสด็จทุกๆแห่ง โดยพระยาประสานดุริยศัพท์จะเป็นผู้ควบคุมทุกครั้ง อาจารย์มนตรี เริ่มแต่งเพลงเมื่ออายุ 20 ปี เพลงแรกที่แต่ง คือ เพลงต้อยติ่ง 3 ชั้น เมื่อ พ.ศ. 2467 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประชวน แพทย์ถวายการแนะนำให้ทรงฟังนิทานหรือดนตรีเบา ประกอบกับเสวยพระโอสถ กรมมหรสพจึงจัดวงเครื่องสายเบาๆ บรรเลงถวาย วงเครื่องสายนี้ได้เพิ่มขิมขึ้น อาจารย์มนตรีได้รับหน้าที่เป็นผู้ตีขิม ในวังหลวงเป็นคนแรก บรรเลงถวายทุกวันจนพระอาการหายเป็นปกติ
พระยาประสานดุริยศัพท์(แปลก ประสานศัพท์)
พระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์) เป็นบุตรคนโตของขุนกนกเรขา (ทองดี)กับนางนิ่ม เกิดเมื่อวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2403 ตรงกับวันอังคาร ณ บ้านเลขที่ 81 ตรอกไข่ ถนนบำรุงเมือง ตำบลหลังวัดเทพธิดากรุงเทพมหานคร ท่านได้เรียนปี่ชวากับครูชื่อ “หนูดำ” ส่วนวิชาดนตรีปี่พาทย์อย่างอื่น ได้ศึกษาอย่างจริงจังกับครูช้อย สุนทรวาทิน (บิดา) จนบรรลุแตกฉาน ท่านเข้ารับราชการ ตั้งแต่เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระยศเป็นพระยุพราช ได้ทูลขอพระราชทานบรรดาศักดิ์จากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวให้นายแปลกเป็นที่“ขุนประสานดุริยศัพท์”นับจากนั้นก็ได้รับพระราชทานเลื่อนบรรดาศักดิ์มาเป็นลำดับ จนได้เป็นที่ “พระยาประสานดุริยศัพท์” เจ้ากรมปี่พาทย์หลวง ในสมัยรัชกาลที่ 6 ความรู้ความสามารถของพระยาประสานดุริยศัพท์นั้น เป็นที่กล่าวขวัญเรื่องลือว่า ท่านเป็นผู้ที่ถึงพร้อมด้วยฝีมือ ความรู้ ปฏิภาณ ไหวพริบ ท่านเป็นครู และเป็นศิลปินที่หาได้ยากยิ่ง เมื่อปี พ.ศ.2428 ท่านได้รับเลือกให้ไปร่วมฉลองครบรอบร้อยปีของพิพิธภัณฑ์เมืองอวิมปลีย์ที่ประเทศอังกฤษผลของการบรรเลงขลุ่ยของท่านเป็นที่พอพระราชหฤทัยของสมเด็จพระราชินีนาถวิคตอเรียเป็นอย่างยิ่งถึงกับรับสั่งขอฟังเพลงขลุ่ยเป็นการส่วนพระองค์ในพระราชวังบัคกิ้งแฮมอีกครั้งการบรรเลงครั้งหลังนี้สมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรียทรงลุกจากที่ประทับและใช้พระหัตถ์ลูบคอพระยาประสานฯพร้อมทั้งรับสั่งถามว่า “เวลาเป่านั้นหายใจบ้างหรือไม่ เพราะเสียงขลุ่ยดังกังวานอยู่ตลอดเวลา”
พระยาประสานดุริยศัพท์ได้แต่งเพลงไว้ดังนี้คือ เพลงเชิดจั่น 3 ชั้น พม่าหัวท่อน เขมรราชบุรี เขมรปากท่อ เขมรใหญ่ ถอนสมอ ทองย่อน เทพรัญจวน แมลงภู่ทอง สามไม้ใน อาถรรณ์ พราหมณ์เข้าโบสถ์ ธรณีร้องไห้ มอญร้องไห้ เป็นต้น ความสามารถทางดนตรีของท่านนั้น ทำให้ท่านมีลูกศิษย์ที่มีความสามารถเป็นทวีคูณขึ้นไป และศิษย์ของท่านเป็นที่รู้จักโดยทั่วไปคือพระประดับดุริยกิจ (แหยม วิณิณ) พระเพลงไพเราะ (โสม สุวาทิต) หลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) หลวงบรรเลงเลิศเลอ (กร กรวาทิน) พระยาภูมิเสวิน (จิตร จิตตเสรี) อาจารย์มนตรี ตราโมท ครูเฉลิม บัวทั่ง เป็นต้น พระยาประสานดุริยศัพท์ ป่วยโดยโรคชรา และถึงแก่กรรมเมื่ออายุได้ 105 ปี ในปี พ.ศ. 2467
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น